

iHealth
ชุดยาสามัญสำเร็จรูปและจัดตามความต้องการ
เตียงวัดความยาวลำตัวหรือส่วนสูงเด็ก
เครื่องช่วยฟังคนหูตึง
THERMOSCAN เทอร์โมแสกน และ ปรอทวัดอุณหภูมิแบบต่างๆ
อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อ และ หน้ากากและถุงมือกันติดเชื้อ
ELASTIC SUPPORT ผ้ายืดประคองส่วนต่างๆ
เตียงผู้ป่วย เตียงตรวจ
ชุดให้อ้อกซิเจน และอุปกรณ์
เครื่องพ่นยาขยายหลอดลม
DETOX ดีท๊อกซ์การสวนล้างลำใส้ การล้างจมูก และอุปกรณ์ในการใช้งาน
ที่นอนแผลกดทับและเบาะเจลรองนั่ง
ยาทาแผลกดทับ แผลเบาหวาน
กล่องและตลับใส่ยาเม็ด และ เบ็ดเตล็ด
เครื่องวัดความดันแบบแมนนวล
เครื่องวัดความดันแบบอัตโนมัติ
เสตทโทสโคบ หูฟังทางการแพทย์
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด
ถุงอุจจาระ COLOSTOMY BAG ถุงปัสสาวะURINE BAG และทวารเทียมSTOMA
พลาสเตอร์เทปปิดแบบต่างๆ และแผ่นฟิลม์ปิดแผลกันน้ำ และชุดทำแผล ฯลฯ
ผ้าอ้อมผูใหญ่ ผ้ารอง อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด
ปั้มนม แบบ ปั๊มทิ้ง ปั๊มเก็บ และถุงเก็บน้ำนม
เครื่องตรวจไขมันในเลือด
กระเป๋าน้ำร้อนไฟฟ้า แผ่นเจลร้อนเย็น แผ่นปิดลดไข้
รถเข็นผู้ป่วยแบบต่างๆ
เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อ
COMMODE ที่นั่งถ่าย นั่งอาบน้ำ
ไม้เท้า และที่หัดเดิน WALKER
เจล ครีม และ แผ่นปิดแผลเป็น
นมและอาหารแบบชงสำหรับผู้ป่วยและคนปกติ
กู้ภัย กู้ชีพ EMS
เครื่องดูดเสมหะ
เครื่องวัดปริมาณอ็อกซิเจน เครื่องวัดชีพจร เครื่องนับก้าว
โคมไฟผ่าตัดแบบต่างๆ
เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดลำตัวเทียบค่าBMI และ ที่วัดส่วนสูง
เครื่องปั่นเฮมาโตคริต และหลอดเก็บเลือดต่างๆ
เครื่องซีลซอง
อุปกรณ์เสตนเลส
DSMILE ORAL CARE SYSTEM
GUM DENTALPRO และ ORAL-B
ชุดตรวจสารเสพย์ติด และงานสาธารณสุขอื่นๆ
สินค้าน่าสนใจสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สายสวน สายให้อาหาร สายดูดเสมะ CATHETERและสินค้าเกี่ยวข้อง แบบต่างๆ
MEGA WE CARE
CENTRUM CALTRATE WYETT
GINSANA และ PHARMATON
VISTRA
BLACKMORES
BANNER
SMOOTH E + DENTISTE
ROTTA'S VIARTRIL
CENOVIS+CIRCURE
CETAPHIL RESTORADERM และ EZERRA
MEDICRAFT
BIOPHARM KALVIN
เครื่องตรวจการตกไข่ OVULATION+ตรวจตั้งครรภ์pregnancy test+NUVA RING
เครื่องตรวจหู ตา คอ จมูก
เครื่องบริหารปอด
เครื่องฟังหัวใจเด็กในครรภ์ FETAL DROPPLER
RAQUA VIVA
DR.PHILLIPS ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพฟัน
PROBIOTIC+PREBIOTIC โปรไบโอทิค+พรีไบโอทิค etc
1. ควรอุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูกเสมอ โดยให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับเยื่อบุจมูก การใช้น้ำเกลือที่ไม่ได้อุ่นล้างจมูก อาจทำให้เกิดการคัดจมูกหลังการล้างได้ การอุ่นน้ำเกลือสามารถทำได้โดยต้มน้ำประปาให้เดือดในหม้อต้ม ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่สามารถใส่ขวดน้ำเกลือ เพื่อลงไปอุ่นได้ หลังจากนั้นปิดไฟ แล้วนำขวดน้ำเกลือที่แพทย์จ่ายให้ใส่ลงไปแช่ในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที (ขวดน้ำเกลือที่ซื้อมาจากโรงพยาบาลสามารถทนความร้อนได้) แล้วนำขวดน้ำเกลือนั้นขึ้นมาเทใส่ภาชนะปากกว้าง เช่น ชาม ในขนาดพอประมาณ ที่จะทำการล้างในเวลานั้นๆ หรืออาจเทน้ำเกลือลงในภาชนะที่สามารถอุ่นในไมโครเวฟได้ แล้วอุ่นในไมโครเวให้อุ่นพอประมาณ ในกรณีที่อยากทำน้ำเกลือไว้ล้างเอง อาจทำได้โดย ต้มน้ำประปาในขนาด 1 ขวดแม่โขง(750 ซีซี) ในหม้อต้มให้เดือด หลังจากนั้นใส่เกลือแกง หรือเกลือป่นที่ใช้ปรุงอาหารลงไป 1 ช้อนชา แล้วคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นจึงปิดไฟและตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น (น้ำเกลือที่เตรียมเอง ควรใชภายใน 1 วันเท่านั้น ที่เหลือควรทิ้งไป) ก่อนนำน้ำเกลือที่อุ่นแล้วนั้นมาล้างจมูกควรทดสอบกับหลังมือเสียก่อน น้ำเกลือควรจะอุ่นในขนาดที่หลังมือทนได้
2. ควรล้างจมูกบนโต๊ะ โดยหาภาชนะมารองรับน้ำเกลือหลังล้างที่จะออกมาทางจมูก และปาก เช่น ชาม หรือกะละมัง หรือล้างในอ่างล้างหน้า
3. ใช้ลูกยางแดง หรือ กระบอกฉีดยาที่แพทย์จ่ายให้ ดูดน้ำเกลือที่อุ่นได้ที่แล้วในปริมาณน้อยๆ ก่อนเช่น ประมาณ 10-15 ซีซี ในผู้ใหญ่ หรือประมาณ 5 ซีซี ในเด็ก
4. ผู้ที่จะล้างจมูกควรนั่งโน้มตัวไปข้างหน้า และก้มหน้าเล็กน้อยอยู่เหนือภาชนะรองรับน้ำเกลือหลังจากที่ล้างแล้ว ซึ่งวางอยู่บนโต๊ะหรืออยู่เหนืออ่างล้างหน้า ควรเริ่มล้างจมูกข้างที่โล่งกว่า หรือ คัดน้อยกว่าก่อน
5. ควรนำปลายของลูกยางแดง หรือปลายกระบอกฉีดยา ใส่เข้าไปในจมูกข้างที่จะล้างเล็กน้อย อ้าปากไว้ แล้วหายใจเข้าเต็มที่ และกลั้นหายใจไว้
6. บีบลูกยางแดง หรือดันกระบอกสูบของกระบอกฉีดยา เบาๆ ให้น้ำเกลือไหลเข้าไปในจมูกช้าๆ หลังจากที่น้ำเกลือส่วนใหญ่ไหลออกมาจากจมูก และ/หรือปากแก้ว ให้หายใจตากปกติได้ ข้อสำคัญคือ ระหว่างที่น้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก จะต้องกลั้นใจไว้มิฉะนั้นอาจหายใจเอาน้ำเกลือลงไปยังกล่องเสียงและหลอดลมทำให้เกิดการสำลักได้
7. หลังจากที่คุ้นเคยกับการล้างจมูก และรู้จังหวะของการหายใจแล้ว จึงค่อยๆเพิ่มปริมาณของน้ำเกลือในการล้างแต่ละครั้งขึ้นเรื่อยๆ การล้างจมูกให้ได้ประสิทธิภาพในการชะระล้างโพรงจมูกให้สะอาดนั้น ควรจะดันน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกทุกทิศทาง เช่น ทางขวา ซ้าย ด้านบนและล่างของโพรงจมูก เพื่อชะล้างน้ำมูกหรือสิ่งสกปรกในโพรงจมูกออกได้ท้วทั้งโพรงจมูก และออกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากฉีดล้างโพรงจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ควรจะมีน้ำเกลือไหลออกจากโพรงจมูกอีกข้าง ถึงจะเป็นการล้างที่ถูกต้องคือ มีปริมาณของน้ำเกลือที่ใช้ล้างในแต่ละครั้ง และมีความแรงของน้ำเกลือที่ฉีดเข้าไปเพียงพอ ควรล้างโพรงจมูกสลับข้างไปเรื่อยๆ เช่น หลังล้างข้างซ้าย ก็ควรย้ายไปล้างข้างขวา แล้วสลับกันไปมา
8. การล้างจมูกแต่ละครั้งน้ำ ควรล้างจนกว่าจะรู้สึกว่าจมูกโล่ง ไม่มีน้ำมูกหรือสิ่งสกปรกอะไรคั่งค้างในจมูก และควรล้างจนกว่าน้ำเกลือที่ออกมาจากจมูกและปาก จะใสเหมือนกับน้ำเกลือที่ฉีดเข้าไปในโพรงจมูก จึงจะหยุดการล้างได้
9. หลังจากล้างเสร็จ สามารถสั่งน้ำมูก หรือน้ำเกลือที่คั่งค้างอยู่ในโพรงจมูก และบ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอรวมทั้งเสมหะในคออกมาได้ การล้างจมูกอย่างถูกต้องบ่อยๆจะไม่เกิดโทษหรืออันตรายต่อจมูก หรืดร่างกาย ในทางตรงข้าม จะมีประโยชน์ โดยช่วยล้างน้ำมูก สิ่งสกปรกที่คั่งค้างอยู่ในโพรงจมูกออก ดังนั้น ในช่วงวันหยุด ถ้าล้างเพิ่มได้ ก็ควรจะทำ ควรล้างจมูกก่อนการอบจมูกด้วยไอน้ำเดือด หรือการพ่นยาในจมูกเสมอ แนะนำให้ล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร ขณะท้องว่าง หรือรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันการอาเจียนหรือสำลัก
10. หลังล้างจมูกเสร็จทุกครั้ง ควรล้างอุปกรณืที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำประปาจนสะอาด ในกรณีที่ใช้ลูกยางแดง หรือกระบอกฉีดยาที่ทำจากแก้ว หลังจากล้างแล้วควรนำมาต้มกับน้ำเดือด ประมาณ 5 นาที แล้วผึ่งให้แห้ง
ข้อมูลจาก ผศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิยา รพ.ศิริราช
การล้างจมูก เป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัส หรือคราบสะเก็ดเข็งของเยื่อบุจมูกหลังการผ่าตัดจมูกไซนัส หรือหลังการฉายแสงออก ด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิดของไซนัสโล่ง ทำให้บรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ทั้งที่ไหลออกมาข้างนอก และไหลลงคอ นอกจากนั้นการล้างจมูกก่อนการพ่นยาในจมูก จะทำให้ยาสัมผัสกับเยื่อบุจมูกได้มากขึ้น ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น การล้างจมูกมีขั้นตอนต่อไปนี้